ชั่วโมงที่ 3

เงิน คือเงินสด

สิทธิ คือเงินสดที่ยังไม่ได้รับ

สิทธิ คือผลประโยชน์อื่นอันอาจคำนวณเป็นเงินได้

ภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้เกณฑ์สิทธิ หนี้ที่ถึงกำหนด แม้ยังไม่ได้จ่ายก็ถือว่าจ่ายแล้ว

เช่นเดียวกับสิทธิเงินได้ เมื่อถึงกำหนดแล้ว แม้ยังไม่ได้รับเงินก็ถือว่าได้รับแล้ว (มาตรา 39 – 41)

ส่วน บุคคลธรรมดาใช้เกณฑ์เงินสด คือผลประโยชน์ที่ได้รับจริง

มาตรา 39 นิยาม

ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

    ” เงินได้พึงประเมิน ” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย

” บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้

    (1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง

    (2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด

    (3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ

    (4) บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง

    ” ปีภาษี ” หมายความว่า ” ปีประดิทิน ” 

” บริษัทจดทะเบียน ” หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    ” บริษัทจัดการกิจการลงทุน ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชน

” กองทุนรวม ” หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งเข้าร่วมในกองทุนซึ่งจัดตั้งและดำเนินการโดยบริษัทจัดการกิจการลงทุน ตามโครงการในการประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน 

  “บริษัทเงินทุน ” หมายความว่า บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน 

” คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ” หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกัน อันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

“บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง

    (1) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

    (2) กิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น 

(3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข)

  (3/1) กองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ

 (4) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

” ขาย” หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง

 

(1)ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคาหรือมูลค่าตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 

(2) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์    

 

 ” ราคาขาย ” หมายความรวมถึง ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดตามมาตรา 49 ทวิ

 ” สิทธิครอบครอง ” หมายความถึง สิทธิครอบครองในการถือครองอสังหาริมทรัพย์ 

 

มาตรา 41 Tax point (จุดความรับผิดทางภาษี) ถ้าไม่เกิด Tax point ไม่ต้องคำนวณภาษี

มาตรา 41   ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ (หลักเงินได้)

(วรรค 2 – 3 หลักถิ่นที่อยู่)
        ผู้อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย
        ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีปีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย  

มาตรา 41 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับผู้เสียภาษี(ในลักษณะของความเป็นหุ้นส่วน)

หลักการนี้คือผู้ที่ทำให้เกิดเงินได้ในประเทศไทยก็ใช้ทรัพย์ยากรและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย จึงควรเสียภาษี

หลัก Residents rule หลักถิ่นที่อยู่ เมื่ออยู่อาศัยในประเทศไทยก็ได้รับบริการสาธารณะจากประเทศไทย

ถ้าคนไทยอยู่ได้คนไทยแข็งแรง หุ้นส่วนแข็งแรงรัฐก็แข็งแรง

จึงไม่มีนโยบายล้างผลาญหน่วยภาษี จึงไม่มีโทษจำคุก ไม่มีการทำให้ธุรกิจหดตัวโดยเกิดจากอำนาจรัฐ ไม่ควรโทษเจ้าหน้าที่ ต้องโทษคนออกกฎหมาย

หลัก Citizen rule แค่มีสัญชาติไทยก็ต้องเสียภาษีแล้ว ไทยไม่ใช้ แต่ อเมริกาไม่ใช้

เก็บตามอัตภาพให้หน่วยภาษีดำรงอยู่ได้แล้วเติบโต

 

มาตรา 41 วรรค 1 เงินได้ , วรรค 2 และ 3 หลักถิ่นที่อยู่

ผู้อยู่ในประเทศไทย หมายความว่า วรรค 3 มาตรา 41 อยู่ถึง 180 วัน (ห้ามเขียนว่ามากกว่า 180 วัน) ไม่ต้องถึง 181 วัน เพียงนับรวมกันได้เพียง 180 วัน ก็พอ ไม่ว่าจะเข้าออกกี่ครั้ง

ไม่ต้องคิดเลยว่าได้รายได้มาจากที่ไหน ต้องเสียภาษีให้ประเทศไทย

แต่เข้ามาอยู่ไม่พอต้องนำเงินที่ทำมาหาได้นอกราชอาณาจักรเข้ามาในประเทศด้วย ส่วนเงินที่ทำมาหาได้ในประเทศได้เสียภาษีตามวรรค 1 แล้ว

เงินได้จากการทำผิดกฏหมายเสียภาษีไหม?

สรุปต้องเสียภาษีเช่นเดียวกัน ในกรณียึดเงินที่ได้มาจากการทำผิดกฎหมาย เช่น ยึดได้ 100 ล้านบาท ต้องตัดไว้เสียภาษี 35 ล้านบาท (คิดตามอัตราขั้นสูง) หน่วยงานที่อายัดได้เก็บไว้ได้เพียง 65 ล้านบาท ซึ่งเงินทั้งก้อน 100 ล้านบาทก็ต้องส่งเข้ารัฐทั้งหมด

 

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 39 ส่วนมาตรา 40 เป้นเรื่องของประเภทเงินได้พึงประเมิน

การแบ่งเงินได้ก้เพื่อแบ่งแยกประเภทเงินที่ได้มา (เงินบางก้อนที่ได้มาต้องลงทุนมากกว่าจะได้มา ในขณะที่เงินบางก้อนต้องลงทุนมหาศาลกว่าจะได้เงินมา)

นักกฎหมายที่มีรายได้มากที่สุดก็คือ กลุ่ม Law firm big4 ในขณะที่ทนายความต้องอาวุโสในระดับของหุ้นส่วนอาวุโสจึงจะไดเท่ากลุ่ม Law firm นักกฎหมายจัดว่าเป็นกลุ่มที่ลงทุนน้อย ลงกำลังสมองมาก

แต่กับกลุ่มของผู้รับเหมาก่อสร้างต้องลงทุนไปกับวัสดุอุปกรณ์ และค่าแรงงานมาก ในเวลาสิ้นปีภาษี ผู้รับเหมามีรายได้เท่ากัน กับนักกฎหมาย Law firm สังเกตดูว่า Law firm กับ ผู้รับเหมามีรายได้เท่ากัน แต่ต้นทุนที่ต้องจ่ายแตกต่างกัน จึงต้องทำการแบ่งแยกรายได้ ไปตามต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อให้หน่วยภาษีอยู่รอดแข็งแรงเติบโต ความยุติธรรม จึงต้องให้สองกลุ่มนี้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน

เช่น Law firm 10 ล้านหักค่าใช้จ่ายได้ เพียง 100,000 บาท

ส่วนผู้รับเหมาให้หักได้ 60% จาก 10 ล้าน นั้นก็คือ 6 ล้านบาท

 ดังนี้รัฐจะเก็บภาษีได้จาก Law firm มากกว่า ผู้รับเหมา คือ คิดจากฐานภาษี Lawfirm ที่ 9,900,000 บาท จากที่หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท

แต่สำหรับ ผู้รับเหมาต้องเสียภาษีโดยคิดจากฐานภาษี 4,000,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 6,000,000 บาท

นี่คือความยุติธรรมจากการที่ทั้งสองกลุ่มมีรายได้ต่างกัน

 

ปีภาษี 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีเดียวกัน นี่คือปีภาษี

การใช้แรงงานในราชอาณาจักร เป็น หน้าที่งาน อันเกิดจากสัญญาจ้าง แรงงาน / จ้างทำของ

การลงทุนขายผลไม้ผลไม้ เป้น กิจการที่ทำในราชอาณาจักร

รายได้ที่เกิดจากการนี้ต้องเสียภาษีถือว่าเป็นเงินได้จากการประกอบการงานในประเทศไทย

 

การให้คะแนนคำตอบกฎหมาย

1 แยกประเด็น (ชี้สองสถาน)

2 ภาษีเก็บจากเงินได้พึงประเมิน